บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2017

ปราสาทตาเมือน

รูปภาพ
ปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคันนาสามัคคี ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ตามรายทางสู่เมืองพระนครของขอม ในอดีตยังไม่มีความรับรู้ในเรื่องพรหมแดนต่างประเทศ มีแต่เพียงแนวทิศเขาดงเร็ก เป็นพรหมแดนธรรมชาติที่กั้นผู้คนสองดินแดนไว้ คนโบราณมีการ ใช้เส้นทางผ่าช่องเขาที่มีอยู่ตลอดแนว ในบางช่องเขามีการสร้างปราสาทหินขนาดเล็ก เช่น ช่องไชตะกูมีปราสาทแบแบก แต่สำหรับที่ช่องตาเมือนหรือตาเมียงนี้มีลักษณะพิเศษคือ มีปราสาทหินสามหลังอยู่ใกล้ๆกัน เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก เรียกว่ากลุ่มปราสาทตาเมือน โดยปราสาทแต่ละหลังมีขนาดและประโยชน์ที่ใช้สอยแตกต่างกันไป ปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม ตัวปราสาทอยู่บนเนินเขาสร้างคร่อมโขดหินธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปของสยัมภูศิวลึงค์ และเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรม อยู่ใกล้ดินแดนเขมรมากที่สุด ปราสาทแห่งนี้หันหน้าไปทางทิศใต้ ผิดแผกจากแห่งอื่นซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก คงจะรับกับเส้นทางที่มาจากเขมรต่ำผ่านมาทางช่องทางตาเมือนนี้ ปราสาทตาเมือนธม ซึ่งแปลตรงกับภาษาเขมรว่า ใหญ...

ปราสาทภูมิโปน

รูปภาพ
 ปราสาทภูมิโปน   ตั้งอยู่หมู่  5  บ้านภูมิโปน ต.ดม    อ.สังขะ    จ.สุรินทร์   ชื่อปราสาทแห่งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากชื่อภาษาเขมร  2  คำ คือ ภูมิ ซึ่งในภาษาเขมรออกเสียงว่า ปูม    หมายถึง แผ่นดินหรือสถานที่    และ ปูน    ซึ่งออกเสียงว่า โปน    แปลว่า    หลบซ่อน    รวมความแล้วมีความหมายว่า  " ที่หลบซ่อน"    จากความหมายของชื่อมีความสัมพันธ์กับนิทานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับปราสาท แห่งนี้คือเรื่อง "เนียงเด๊าะทม"    แปลว่า นางนมใหญ่    ซึ่งมีเรื่องเล่าว่าเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์แต่ถูกนำมาพักอาศัย ณ เมืองนี้เพื่อหลบหนีภัยสงคราม ปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วยปราสาทอิฐ  3  หลัง    และฐานปราสาทศิลาแลงอีก  1  หลัง    ตั้งเรียงกันจากเหนือไปใต้    ปราสาทอิฐองค์ที่  3  ซึ่งเป็นปรางค์ประธาน    เป็นปราสาทหลังใหญ่    ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน    มีเสาประดับกรอบ...

ปราสาทพนมรุ้ง

รูปภาพ
ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์  สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณ  ที่มีความงดงามมากที่สุดแห่ง หนึ่ง ความงดงามและความยิ่งใหญ่ของปราสาทแห่งนี้ปรากฏให้เห็นได้ในรูปของงานสถาปัตยกรรม การจำหลักลวดลายการเลือกทำเลที่ตั้งบนยอดเขามีแผนผังตามแนวแกนที่มีองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ เรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธาน จากงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่นี้  ชวนให้เกิดความสงสัยและอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าคนในสมัยโบราณสร้างปราสาทหลังนี้ขึ้นมาได้อย่างไร             ปราสาทพนมรุ้ง เป็นที่รู้จักของชาวท้องถิ่นเป็นอย่างดี ดังได้มีนิทานพี้นบ้านเรื่อง "อินทรปรัสถา" กล่าวถึงคู่พระคู่นางซัดเซพเนจรไปจนพบที่พักพิงซึ่งเป็นปราสาทหินอันงดงามรกร้างอยู่ท่ามกลางป่าเขา แต่สำหรับบุคคลภายนอกต่างบ้านต่างเมืองนั้น ปราสาทแห่งนี้รู้จักกันครั้งแรกตามที่มีเอกสารที่มีการกล่าวถึงปราสาทพนมรุ้งเป็นครั้งแรกคือ บันทึก ของนายเอเตียน เอมอนิเยร์ (Etienne Aymonier) ชาวฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2428 ตีพิมพ์เป็นบทความใน พ.ศ. 24...

ปราสาทหินพิมาย

รูปภาพ
  ปราสาทหินพิมาย       “สะพานนาคราช”  เมื่อท่านมีโอกาสเดินเข้าไปเยี่ยมชมปราสาทหินพิมาย ด่านแรกที่จะต้อนรับท่านก็คือ สะพานนาคราช บริเวณนี้ท่านจะเห็นสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์ ตั้งอยู่ด้านหน้าซุ้มประตูฝั่งทิศใต้ของปรางค์ประธานซึ่งเป็นส่วนหน้าของปราสาท เชื่อว่าสร้างให้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ ตามคติความเชื่อในเรื่องจักรวาลทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ลักษณะสะพานนาคราชเป็นรูปกากบาท ยกพื้นขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวพญานาค ชูคอแผ่พังพานเป็นนาคเจ็ดเศียร มีลำตัวติดกันเป็นแผ่น หันหน้าออกไปยังเชิงบันไดทั้งสี่ทิศ   ซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกของปราสาท   เมื่อผ่านสะพานนาคราชขึ้นมาจะเป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกว่า   โคปุระ   ของกำแพงปราสาทด้านทิศใต้ ก่อด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาทและมีซุ้มประตูลักษณะเดียวกันนี้อีก 3 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยมีแนวกำแพงสร้างเชื่อมต่อระหว่างกันเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือถึงใต้ 277.50 เมตร และกว้างจาก...

ปราสาทหินเมืองต่ำ

รูปภาพ
ปราสาทหินเมืองต่ำ สมาชิก   Travel MThai  ทราบกันดีว่า บนที่ราบสูงของ ปราสาท หินเขาพนมรุ้ง เป็นหนึ่งจุด ท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงในจังหวัด บุรีรัมย์   แต่ ณ บริเวณอีกฝากของเขาพนมรุ้ง ยังมีแดดอุ่นนวลทาบไล้ลวดลายจำหลักบนหินทรายอันวิจิตรตระการตาของ  ปราสาทหินเมืองต่ำ   ที่รอให้นักท่องเที่ยวไปสัมผัสความ งดงามอยู่เช่นกันครับ บริเวณด้านหน้า ปราสาทหินเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาท หินเมืองต่ำ  ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทาง ทิศใต้เป็นระยะทางประมาณ 64 กิโลเมตร  กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2478 และได้เข้ามาทำการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2531 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2539  ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธาน และปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปัจจุบัน ปราสาทเมืองต่ำ อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร ปราสาทหินเมืองต่ำ  เป็น ศาสนสถานในศาสน...